นิทรรศการเทคโนโลยีและภูมิสารสนเทศ


นิทรรศการเทคโนโลยีและภูมิสารสนเทศ ได้รับความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ภายในนิทรรศการอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของดาวเทียมรวมทั้งประโยชน์จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรมาประยุกต์ในงานด้านต่างๆ และผู้เขาชมยังได้สนุกสนานไปกับเครื่องเล่นอีกมากมาย แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 โซน ดังนี้

1. ดาวเทียมไทยโชต (Thaichote) เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “ไทยโซต” โดยมีความหมายว่า “ดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยรุ่งเรือง” ขึ้นสู่อวกาศ วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 กิโลกรัม สามารถทำงานได้ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อควบคุมระบบภายในดาวเทียม และใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการรักษาระดับของวงโคจร อยู่สูงจากพื้นโลก 822 กิโลเมตร และกลับมาจุดเดิมทุกๆ 26 วันสามารถถ่านภาพได้ครอบคลุมทั่วโลก
2. รีโมทเซนซิ่ง (Remote Sensing : RS) การรับรู้ระยะไกล ที่อาศัยหลักการสะท้อนแสงหรือพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ ที่ตกกระทบกับวัตถุหรืพื้นผิวโลก แล้วสะท้อนกลับเข้าสู่เครื่องรับสัญญาณ
3. GIS (Geographic Information System) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นระบบทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่อ้างอิงตำแหน่งทางภูมิศาสตร์
4. GPS (Global Positioning) ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก เป็นระบบการค้นหาตำแหน่งและนำทางด้วยดาวเทียม สามารถใช้บอกตำแหน่งได้โดยอัตโนมัติในระบบความถูกต้อง 10 ถึง 20 เมตร